SLider section

พะแนงเนื้อ

ภาค กลาง

  • recipe image cover

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา

พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย

 

ส่วนผสม

กะทิ                                         2     ถ้วย

เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม

น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย

ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ

ใบมะกรูด                                  5     กรัม

วิธีทำ

ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม

ภาค เหนือ

แกงโฮ๊ะ

ความเป็นมา คำว่า “โฮ๊ะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน แต่ก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่าง โดยจะมีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่สมัยนี้ใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ในการปรุงเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากยิ่งขึ้น                               คุณค่าทางโภชนาการ แกงโฮ๊ะ มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายจากวัตถุดิบหลากหลายที่ผสมรวมกันเช่น ขมิ้นสดช่วยในการขับลม มะเขือพวงมีสารเพกติน ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่   ส่วนผสม เนื้ออกไก่หั่นชิ้นบาง                        150    กรัม หมูสามชั้นหั่นชิ้นบาง                      200    กรัม มะเขือเปราะผ่าสี่                          100    กรัม หน่อไม้ดอง                                  200    กรัม มะเขือพวง                                  50      กรัม วุ้นเส้นแช่น้ำจนนิ่มหั่นท่อน               150    กรัม ถั่วฝักยาวหั่นท่อน                          100    กรัม ยอดใบตำลึงเด็ด                            100    กรัม ผักชีหั่นท่อน                                  3        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมหั่นท่อน                             3        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นท่อน                            3        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแดงบุบ                            5        กรัม น้ำปลา                                           3        ช้อนโต๊ะ น้ำมันสำหรับผัด ส่วนผสมพริกแกง พริกชี้ฟ้าแห้ง                                8        เม็ด เกลือป่น                                       1        ช้อนชา ตะไคร้ซอย                                   2        ช้อนโต๊ะ กระเทียมซอย                               2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                3        ช้อนโต๊ะ ขมิ้นสดซอย                                  1        ช้อนชา กะปิ                                               1        ช้อนชา


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำกระท้อน

    ความเป็นมา ตำกระท้อน หรือตำบ่าตืน คือการนำกระท้อนมาหั่นเป็นเส้นแล้วผสมรวมกับเครื่องปรุงต่างๆ ปกติแล้วกระท้อนเป็นผลไม้ที่ทานสดได้เลย แต่ชาวล้านนานำมาดัดแปลงให้อร่อยถูกปากมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ กระท้อนอุดมไปด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังมีวิตามินเอ มีเพกติน ช่วยให้ระบบขับถ่ายมีประสิทธิภาพ และเป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส ช่วยเผาผลาญไม่ให้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ที่ไม่ได้ใช้งานตกค้างและสะสมในร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อกระท้อน           300    กรัม พริกขี้หนู                  5        กรัม กระเทียม                 5        กรัม น้ำตาลปี๊บ                1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าต้มสุก             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปู                          ½       ช้อนชา กุ้งแห้ง                       1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ทุบกระท้อนให้นุ่ม ปอกเปลือก สับเป็นชิ้นโขลกพริกขี้หนู กระเทียม พอแตก ใส่น้ำตาลปี๊บ ปลาร้า น้ำปู และกุ้งแห้ง โขลกให้เข้ากันใส่กระท้อนลงโขลกและคลุกเคล้าให้เข้ากัน      


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

น้ำพริกมะขามสด

ความเป็นมา น้ำพริกเนื้อข้นที่ใช้ฝักมะขามอ่อนซึ่งยังไม่มีเม็ดมาตำ รสจะเปรี้ยวจี๊ด แต่เมื่อตำรวมกับกุ้งแห้ง กะปิที่มีรสเค็ม กระเทียม ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานจากพริกและน้ำตาลปึก น้ำพริกถ้วยนี้จึงมีรสกลมกล่อม เปรี้ยวนำ และทำกินกันทั่วไปในแถบที่มีต้นมะขามขึ้น น้ำพริกมะขามจึงจัดเป็นน้ำพริกพื้นบ้านที่หาง่าย ทำไม่ยาก และกินกันเกือบทุกบ้าน   คุณค่าทางโภชนาการ มะขามเป็นพืชที่นำมากินและใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ฝักมะขามมีวิตามินซีพอสมควร มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และลดความร้อนในร่างกาย มีแคลเซียมตามธรรมชาติที่ไปช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง  มะขามสด 100 กรัม มีแคลเซียม 429 มิลลิกรัม และวิตามินซี 44 มิลลิกรัม   ส่วนผสม มะขามอ่อน                        80      กรัม กุ้งแห้งตำละเอียด             20      กรัม กะปิเผาไฟ                         1        ช้อนโต๊ะ กระเทียม                           3        กรัม พริกขี้หนูเขียว แดง           5        กรัม น้ำปลา                               2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปึก                          2        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำกะปิกับกระเทียมให้ละเอียด ใส่มะขามอ่อนตำจนแหลก ใส่พริกขี้หนูตำพอแหลก ใส่กุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ คลุกเคล้าให้เข้ากัน เสิร์ฟคู่กับผักสด


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire